นักศึกษาสาขาวิชาการตลาดจัดสัมมนาในโครงการบริการวิชาการ
ทางด้านการตลาดเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง
และสนับสนุนการใช้ชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง |
คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยสันตพล ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเพีย และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 จังหวัดอุดรธานี ร่วมจัดโครงการบริการวิชาการทางด้านการตลาดเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งและสนับสนุนการใช้ชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
|
รายละเอียด
การจัดทำโครงการบริการวิชาการทางด้านการตลาดในชุมชนเป็นกิจกรรมการติดตามผลการดำเนินงานเพื่อประเมินประโยชน์หรือผลกระทบของการให้บริการทางวิชาการต่อสังคม และเป็นกิจกรรมสรุปผลการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่ตำบลเมืองเพีย อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ที่มีการดำเนินธุรกิจหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
ภายใต้กรอบแนวคิดการใช้ชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาดได้ลงพื้นที่สำรวจปัญหาและจัดทำการวิจัยขึ้น โดยได้นำผลการวิจัยมาจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการชุมชน เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายและมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทถั่วคั่วทราย และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในชุมชนเมืองเพีย
ซึ่งคณะนักศึกษาวิทยาลัยสันตพล ได้ดำเนินการจัดการสัมมนาให้ความรู้แก่ชุมชนขึ้นในวันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเพีย อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ตั้งแต่เวลา 09.00 น. – 15.30 น. โดยมีนายสมเกียรติ ยอดวงค์ทอง นายกเทศบาลตำบลเมืองเพีย กล่าวให้การต้อนรับผู้เข้าร่วมการสัมมนาทุกท่าน และได้รับเกียรติจากอาจารย์กิตติพล สระบัว หัวหน้าสาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยสันตพล เป็นประธานเปิดพิธี |
ลงทะเบียนก่อนเข้าร่วมโครงการ
การแสดงผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
|
กล่าวเปิดโครงการโดย อาจารย์กิตติพล สระบัว หัวหน้าสาขาวิชาการตลาด |
นายสมเกียรติ ยอดวงค์ทอง นายกเทศบาลตำบลเมืองเพีย กล่าวถึงความสำคัญของโครงการฯ พร้อมทั้งได้กล่าวชื่นชมวิทยาลัยสันตพลที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของเศรษฐกิจชุมชน และมีนโยบายในการบริการวิชาการแก่ชาวบ้านเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับชุมชน และตนเองพร้อมที่จะร่วมมือกับทางวิทยาลัยในการประสานงานกับชาวบ้านและติดตามผลการดำเนินโครงการและอำนวยความสะดวกด้านอื่น ๆ กับทางวิทยาลัยต่อไป
|
คุณ เจริญชัย สองเมือง ผู้ประกอบการธุรกิจ SME ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารช่องทางการจัดจำหน่ายบรรยายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อแนวทางการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย
|
การสัมมนาครั้งนี้ มีประชาชนจากตำบลเมืองเพียสนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 46 คน โดยมาจาก 4 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ถั่วคั่วทราย, งานดอกไม้ประดิษฐ์, งานจักรสาน และงานตัดเย็บผ้า |
ผู้เข้าร่วมการสัมมนาจากกลุ่มอาชีพต่างๆ ในตำบลเมืองเพีย
|
อาจารย์กิตติพล สระบัว หัวหน้าสาขาวิชาการตลาด วิทยากรบรรยายและสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยการตลาดเรื่องช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า OTOP ของผู้บริโภคในจังหวัดอุดรธานี
|
|
การเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อให้เป็นองค์ความรู้ที่คนทั่วไปเข้าใจได้ โดยจากการสัมภาษณ์พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับประโยชน์ของงานวิจัยเรื่อง การบริหารช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า OTOP ประเภทอาหารในเขต อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยสามารถนำมาปรับใช้กับการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจนเกิดผลในเชิงพาณิชย์ และยังเห็นว่าโครงการดังกล่าวมีการจัดได้ต่อเนื่องเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เกิดกับวิสาหกิจชุมชนในเขตตำบลเมืองเพียได้เป็นอย่างดี
|
กิจกรรมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการโดยการแบ่งกลุ่มย่อยตามกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามประเด็น ของช่องทางการจัดจำหน่ายในปัจจุบันเพื่อค้นหาปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานตามแผน รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ประสบความสำเร็จเพื่อนำมาปรับใช้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอื่น ๆ
|
อาจารย์ในสาขาวิชาการตลาด เป็นที่ปรึกษาประจำแต่ละกลุ่ม เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของการให้บริการวิชาการ โดยการสรุปประเด็นปัญหา พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาเบื้องต้นและร่วมประเมินความสำเร็จของการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัย
|
นักศึกษาสาขาวิชาการตลาด ที่เรียนในรายวิชาสัมมนาการตลาด โดยเคยผ่านการเรียนในรายวิชาช่องทางการ จัดจำหน่าย (MK303) ได้เข้าร่วมศึกษาข้อมูลและเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อร่วมประเมินความสำเร็จของการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอน
|
กิจกรรมการประเมินประโยชน์หรือผลกระทบของการให้บริการวิชาการต่อสังคม เพื่อนำผลที่ได้ไปพัฒนาระบบและกลไกหรือกิจกรรมการให้บริการทางวิชาการ
|
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทั้ง 4 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า กลุ่มจักรสานกลุ่มถั่วคั่วทราย และกลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์ โดยจากการนำเสนอของแต่ละกลุ่มพบว่า แต่ละกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีผู้นำหรือสมาชิก ที่มีการเรียนรู้และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่ม และยังทำให้ในกลุ่มรู้ถึงปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทำให้สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
|
กลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มถั่วคั่วทราย (รูปบน) มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยจากการนำเสนอของกลุ่มพบว่า “การได้รับบริการวิชาการในแต่ละครั้งทำให้สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการประกอบกิจการได้อย่างดี แต่ในกลุ่มของตนก็ยังคงยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ คือไม่ได้มีการทำธุรกิจที่เกินตัวแม้ว่าผลประกอบการจะดีขึ้นในช่วง 2- 3 ปีที่ผ่านมา แต่ตนและสมาชิกในกลุ่มยังคงให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพของสินค้าเป็นอย่างมาก และเน้นการใช้วัตถุดิบและแรงงานในท้องถิ่น รวมทั้งยังคงกระบวนการผลิตถั่วคั่วทรายที่เป็นวิธีการดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาเพื่อไม่ทำให้รสชาติและคุณภาพของถั่วคั่วทรายเปลี่ยนแปลงไป”
|
โครงการบริการวิชาการด้านการตลาดเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งและสนับสนุนการใช้ชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เป็นหนึ่งในโครงการบริการวิชาการของวิทยาลัยสันตพลที่สร้างประโยชน์ ความเข้มแข็งและสร้างคุณค่าต่อชุมชนจนสามารถทำให้ชุมชนสามารถดำเนินงานอย่างต่อเนื่องด้วยการพึ่งพาตนเองได้
|
ผู้ร่วมสนับสนุนโครงการ |
|